บิ๊กตู่ เปิดประชุมวิชาการเอเปค

บิ๊กตู่ เปิดประชุมวิชาการเอเปค ชี้เป็นโอกาสดีที่ นักวิจัย-นักวิทย์-ผู้นำธุรกิจ ร่วมแลกเปลี่ยน รับมือความท้าทายโลก

‘บิ๊กตู่’ เปิดประชุมวิชาการเอเปค ชี้เปิดโอกาสเครือข่ายการศึกษาโลกแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อรับมือสถานการณ์ท้าทายใหม่

การศึกษา ทั้งเศรษฐกิจ-การศึกษา-สุขภาพ ในเอเชีย-แปซิฟิก เชื่อเป็นเวลาดีที่ นักวิจัย-นักวิทย์-ผู้วางนโยบาย-ผู้นำธุรกิจ จะร่วมกันสร้างสรรค์นโยบาย-ออกแบบทิศทาง-แผนการบริหารประเทศ สอดรับวิถีความปกติใหม่ของโลก โดยเฉพาะความปลอดภัยด้านสาธารณสุขเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมทางวิชาการ APEC University Leaders Forum 2022 หัวข้อ “Preventing the Next Pandemic – The Global Partnership Agenda: Government, Business and Research University” จัดโดยสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก และจุฬาฯ มีประธานสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก อธิการบดีมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส อธิการบดีจุฬาฯ ผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทชั้นนำ ผู้กำหนดนโยบายในหลากหลายประเทศ อธิการบดีจาก 20 มหาวิทยาลัยทั่วโลก เข้าร่วมงาน ว่า เวทีนี้มีความสำคัญ โดยเฉพาะขณะนี้กำลังเผชิญสถานการณ์ที่หลากหลาย ซึ่งเราให้ความสำคัญ โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพ เวทีคู่ขนานกับการประชุมเอเปคนี้ สอดรับกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้เอเปค เป็นโอกาสให้เครือข่ายการศึกษาทั่วโลกพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในระดับนานาชาติ และเป็นเวทีในการแบ่งปันประสบการณ์ในมิติต่างๆ รวมถึง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ที่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ และอาจต้องเผชิญอีกในอนาคต“โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เป็นพื้นฐานสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างภูมิคุ้มกันจากความท้าทายดังกล่าว อีกทั้ง เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการฟื้นฟู และเติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคม อย่างมั่นคง และยั่งยืน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวพล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยปีนี้ มุ่งผลักดันการสร้างความร่วมมือ ภายใต้แนวคิด “Open. Connect. Balance.” เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในยุคหลังโควิด-19 ในส่วน Open เน้นการผลักดันให้เอเปคนำเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก มาหารือใหม่ เพื่อให้เอเปคสามารถรับมือกับความท้าทาย และใช้โอกาสจากบริบทโลกแบบใหม่ อาทิ เศรษฐกิจดิจิทัล การค้ากับโรคระบาด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่วนของ Connect ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูความเชื่อมโยงของภูมิภาคในทุกมิติ ทั้งการเดินทางข้ามพรมแดนอย่างสะดวกปลอดภัย และความเชื่อมโยงทางดิจิทัล เพื่อให้เอเปคมีแนวทางการรับมือกับวิกฤตโรคระบาดในอนาคต โดยยังรักษาการเดินทาง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากที่สุด สุดท้าย Balance เน้นการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุล ยั่งยืน และครอบคลุม

บิ๊กตู่ เปิดประชุมวิชาการเอเปค

โดยส่งเสริมโมเดลธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ที่สร้างผลกำไรควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมกันทั้งสังคม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

การศึกษา “ผลลัพธ์สำคัญของการเป็นเจ้าภาพเอเปคในครั้งนี้ คือไทยจะเสนอให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปครับรองเอกสาร ‘เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG’ เพื่อนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ของไทยมาเร่งกระบวนการทำงานในเอเปค และวางบรรทัดฐานใหม่ให้เอเปคมุ่งเน้นการสร้างเสริมการค้าการลงทุนควบคู่ไปกับการสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวพล.อ.ประยุทธ์กล่าวอีกว่า การประชุมในครั้งนี้ นอกจากจะให้ความสำคัญกับด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังขยายความสำคัญไปถึงการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย เพื่อยกระดับองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาสังคม และสร้างความปลอดภัยในชีวิตให้แก่ประชาชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เชื่อว่าขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ผู้วางนโยบาย และผู้นำธุรกิจ จะได้มาร่วมมือกันสร้างสรรค์นโยบาย ออกแบบทิศทาง และแผนการบริหารประเทศ ที่สอดรับกับวิถีความปกติใหม่ของโลก โดยเฉพาะความปลอดภัยด้านสาธารณสุข ที่แม้ว่าจะก้าวผ่านการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 มาแล้ว แต่องค์ความรู้ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ยังต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง“ความจำเป็นเร่งด่วนของทั่วโลกในขณะนี้ คือการทำวิจัยที่เกี่ยวกับชีวการแพทย์ การบำบัดโรค และการพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์ที่พร้อมต่อการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุด คือการนำงานวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดผล เป็นรูปธรรมสำหรับประชาชนอย่างทั่วถึง วิกฤตสาธารณสุขที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าความถูกต้องของข้อมูล และการเผยแพร่ รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน ในการบริหารสถานการณ์วิกฤตของรัฐบาล การเผยแพร่ข้อเท็จจริงสู่สาธารณชน ต้องอาศัยความถูกต้องทางวิชาการ ทั้งจากการศึกษา ค้นคว้า ซึ่งภาคการศึกษา มหาวิทยาลัย นักวิชาการ เป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งในการชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องแก่สังคม เพื่อขจัดข้อมูลเท็จ โฆษณาชวนเชื่อ และข่าวปลอม ที่แพร่กระจาย และเป็นภัยอยู่ในสังคม เช่น ช่วงต้นของการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ที่ประชาชนบางส่วนกังวลใจเกี่ยวกับผลข้างเคียง แต่ภายหลังความหวาดกลัวคลายลง เมื่อข้อมูลทางวิชาการที่เชื่อถือปรากฏออกมามากขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดได้อย่างน่าพอใจ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

แนะนำข่าวข่าวการศึกษา อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : กช.ออกระเบียบจ่ายเงินเดือนครูผู้ช่วยดูแลเด็กพิการโรงเรียนเอกชน

สยามพิวรรธน์ ระดมหลากกิจกรรม Previous post สยามพิวรรธน์ ระดมหลากกิจกรรม หนุนการประชุม APEC 2022
Next post แทงบอลออนไลน์ การพนันฟุตบอลเป็นงานอดิเรกยอดนิยม